fbpx

ประวัติความเป็นมาธนาคาร

พ.ศ. 2507 – 2534

สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม

ในปี พ.ศ.2506 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับโครงการเงินกู้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม ซึ่งเป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และได้ดำเนินการจัดตั้งเป็น “สำนักงานเงินกู้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม” (สกอ.) ในเดือนมีนาคม 2507 ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทำหน้าที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม” (สธอ.) แต่เนื่องจาก สธอ. มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ ในการดำเนินงานจึงมีข้อจำกัดในเรื่องแหล่งเงินทุนที่จะต้องอาศัยจากงบประมาณแผ่นดินเพียงแหล่งเดียว การอำนวยสินเชื่อต่างๆ ถือหลักปฏิบัติเช่นเดียวกับหน่วยงานราชการทั่วไป ทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินงาน

พ.ศ. 2534 – 2545

บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม

เนื่องจากสถานภาพของ สธอ. มีข้อจำกัดในการระดมทุนและการให้บริการทางการเงิน  กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลัง จึงยกระดับสถานะเป็น “บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม” (บอย.) เพื่อทำให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 300 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงการคลังได้เพิ่มทุนให้กับ บอย.อีกจำนวน 2,500 ล้านบาท

พ.ศ. 2534 ยกระดับเป็น บอย. โดยมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท

พ.ศ. 2543 กระทรวงการคลัง เพิ่มทุน จำนวน 2,500 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 2,800 ล้านบาท

แต่ในปี พ.ศ. 2540  ซึ่งเกิดวิกฤตค่าเงิน ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนกระทั่งกลายเป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้เสนอแนวคิดในการยกระดับเป็นธนาคาร โดยร่วมพิจารณาหารือกับกระทรวงการคลัง  ให้เป็นสถาบันการเงินหลักเพื่อการพัฒนา SMEs

 

พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2544  รัฐบาลมีความเห็นชอบให้เพิ่มบทบาทและขยายขอบเขตการดำเนินการของ บอย. โดยการจัดตั้งเป็น “ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย” (ธพว.) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังได้ร่วมกันยกร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 จึงถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาก่อตั้ง ธพว. พร้อมกันนี้กระทรวงการคลังยังได้เพิ่มทุนอีกจำนวน 11,955 ล้านบาท ในช่วง พ.ศ. 2547-2559  ทำให้ปัจจุบันธพว.มีทุนเรือนหุ้นทั้งสิ้น  20,006.63  ล้านบาท  โดยมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ 5,251.63  ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2547  กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน 2,000 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น  4,800 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2548  กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน 2,500 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น  7,300 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2550  กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน 1,200 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น  8,500 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2551 กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน    600 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น  9,100 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2552 กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน 2,500 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 11,600 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2555 กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน    600 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 12,200 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2556 กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน    555 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 12,755 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2558 กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน  1,000 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น  16,380.82 ล้านบาท  โดยมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ 2,625.82 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2559 กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน  1,000 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น  20,006.63  ล้านบาท  โดยมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ 5,251.63 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2562 กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน 3,000 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 27,300.58 ล้านบาท โดยมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ 9,545.58 ล้านบาท

⋅ พ.ศ. 2563 กระทรวงการคลังเพิ่มทุน จำนวน 3,000 ล้านบาท ทำให้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 36,231.81 ล้านบาท โดยมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ 15,476.81 ล้านบาท

Skip to content